วันพุธที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

ประเภทของลีลาศ

ประเภทของลีลาศ

การลีลาศตามหลักมาตรฐานสากล หรือการเต้นรำแบบบอลรูม แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ

1. ประเภทบอลรูม หรือโมเดิร์น หรือสแตนดาร์ด (Ballroom or Modern or Standard)
 การลีลาศประเภทนี้จะมีลักษณะการเต้นและท่วงทำนองดนตรีที่เต็มไปด้วยความสุภาพ นุ่มนวล
อ่อนหวาน สง่างาม และเฉีบยขาด ลำตัวของผู้ลีลาศจะตั้งตรงผึ่งผาย ขณะก้าวนิยมลากเท้าสัมผัสไปกับพื้น จังหวที่จัดอยู่ในการเต้นรำประเภทนี้มี 5 จังหวะ คือ
1.1 ควิกสเตป (Quick Step)
1.2 วอลซ์ (Waltz)
1.3 ควิกวอลซ์ หรือเวียนนิสวอลซ์ (Quick Waltz or Viennese Waltz)
1.4 สโลว์ฟอกซ์ทรอต (Slow Foxtrot)
1.5 แทงโก้ (Tango)
 2. ประเภทละตินอเมริกัน (Latin American) การลีลาศประเภทนี้จะมีลักษณะการเต้นที่คล่องแคล่ว ปราดเปรียวกว่าประเภทบอลรูม ส่วนใหญ่จะใช้สะโพก เอว ขา และข้อเท้าเป็นส่วนใหญ่ ท่วงทำนองดนตรี และจังหวะจะเร้าใจและสนุกสนานร่าเริง จังหวะที่จัดอยู่ในการเต้นรำนี้มี 5 จังหวะ คือ
2.1 คิวบัน รัมบ้า (Cuban Rumba)
2.2 ชา ชา ช่า (Cha Cha Cha)
2.3 แซมบ้า (Samba)
2.4 ไจฟว์ (Jive)
2.5 พาโซโดเบล้ หรือพาโซโดเบิ้ล (Paso Doble)
สำหรับการลีลาศในประเทศไทยนั้น ยังมีการเต้นรำที่จัดอยู่ในประเภทเบ็ดเตล็ด (Pop and social Dance) อีกหนึ่งประเภท ซึ่งจังหวะที่นิยมลีลาศกัน ได้แก่ จังหวะบีกิน (Beguine) อเมริกัน รัมบ้า (American Rumba)                  กัวราช่า (Guaracha) ออฟบีท (Off-Beat) ตะลุง เทมโป้ (Taloong Tempo)และร็อค แอนด์ โรลล์ (Rock and Roll) เป็นต้น

ประวัติการลีลาศของประเทศไทย

ประวัติการลีลาศของประเทศไทย

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ลีลาศในไทย

·         ไม่มีหลักฐานยืนยันได้แน่ชัดว่าการลีลาศในประเทศไทยเกิดขึ้นในสมัยใด สันนิษฐานว่าชาวต่างชาติได้นำมาเผยแพร่ในรัชสมัยของพรบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จุลศักราช 1226 จากบันทึกของแหม่มแอนนาทำให้มีหลักฐานเชื่อได้ว่า คนไทยลีลาศเป็นมาตั้งแต่สมัยพระองค์ และ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงรบการยกย่องให้เป็นนักลีลาศคนแรกของไทย ตาม บันทึกกล่าวว่า แหม่มแอนนาพยายามสอนพระองค์ท่านให้รู้จักวิธีการเต้นรำแบบสุภาพซึ่งเป็นที่ นิยมของชาวตะวันตก โดยบอกว่าจังหวะวอลซ์นั้นหรูมาก นิยมเต้นกันในวังของประเทศในแถบยุโรป พร้อมกับแสดงท่าทางการเต้น พระองค์ท่านกลับสอนว่าใกล้เกินไป แขนต้องวางให้ถูก แล้วพระองค์ท่านก็เต้นทำให้แหม่มแอนนาประหลาดใจ จึงไม่สามารถรู้ได้ว่าใครเป็นผู้สอนพระองค์ จึงได้ได้สันนิษฐานกันว่า พระองค์ท่านคงจะศึกษาจากตำราด้วยพระองค์เอง การเต้นรำในสมัยรัชกาลที่ 5 ส่วนใหญ่มีแต่เจ้านายและขุนนาชั้นผู้ใหญ่ที่เต้นรำกันพอเป็นโดยเฉพาะเจ้านายที่ว่าการต่างประเทศได้มีการเชิญฑูตานุฑูต และแขกชาวต่างประเทศมาชุมนุมเต้น รำกันที่บ้าน เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติในการเฉลิมพระชนมพรรษาหรือเนื่องในวันบรมราชาภิเษก เป็นต้น จนกระทั่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานวังสราญรมย์ ให้เป็นศาลาว่าการกระทรวงการต่างประเทศ งานเต้นรำที่เคยจัดกันมาทุกปีก็ได้ย้ายมาจัดกันที่วังสราญรมย์
·         ในสมัยรัชกาลที่ 6 ทุกปีที่มีงามเฉลิมพระชนมพรรษานิยมจัดให้มีการเต้นรำขึ้นในพระบรมมหาราชวัง โดยมีพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเป็นประธาน ซึ่งมีเจ้านายและบรรดาฑูตานุฑูตทั้งหลายเข้าเฝ้า ส่วนแขกที่จะเข้าร่วมงานได้ต้องได้รับบัตรเชิญเท่านั้น จึงสามารถเข้าร่วมงานได้
·         ในสมัยรัชกาลที่ 7 การลีลาศได้รับความนิยมมากขึ้น จึงมีสถานที่ลีลาศเกิดขึ้นหลายแห่งเช่น ห้อยเทียนเหลา เก้าชั้น คาเธ่ย์ และ โลลิต้า เป็นต้น
·         ในปี พ..2475 นายหยิบ ณ นคร ได้ร่วมกับหม่อมเจ้าวรรณไวทยากร วราวรรณ จัดตั้งสมาคมเกี่ยวกับการเต้นรำขึ้น แต่ไม่ได้จดทะเบียนให้เป็นที่ถูกต้องแต่ประการใด โดยใช้ชื่อว่าสมาคมสมัครเล่นเต้นรำ มีหม่อมเจ้าวรรณไวทยากร วรวรรณ เป็นนายกสมาคม นายหยิบ ณ นคร เป็นเลขาธิการสมาคม สำหรับกรรมการสมาคมส่วนใหญ่ก็เป็นขุนนางชั้นผู้ใหญ่ ได้แก่ หลวงเฉลิม สุนทรกาญจน์ พระยาปกิตกลสาร พระยาวิชิต หลวงสุขุมนัยประดิษฐ์ หลวงชาติตระการโกศล และ นายแพทย์เติม บุนนาค สมาชิกของสมาคมส่วนมากเป็นข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ที่มักพาลูกของตนมาเต้นรำด้วย ทำให้มีสมาชิกเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว มีการจัดงานเต้นรำชึ้นบ่อยๆ ที่สมาคมคณะราษฎร์และวังสราญรมย์ สำหรับวังสราญรมย์นี้เป็นสถานที่ที่จัดให้มีการแข่งขันเต้นรำขึ้นเป็นครั้งแรก ซึ่งผู้ชนะเลิศเป็นแชมเปียนคู่แรกคือ พลเรือตรีเฉียบ แสงชูโต และประนอม สุขุม
·         ในช่วงปี พ..2475-2476 มีนักศึกษากลุ่มหนึ่งเรียกสมาคมสมัครเล่นเต้นรำว่าสมาคม... (คำผวนของคำว่าเต้นรำซึ่งฟังแล้วไม่ไพเราะหู ดังนั้นหม่อมเจ้าวรรณไวทยากร วรวรรณ จึงบัญญัติศัพท์คำว่า ลีลาศ ขึ้นแทนคำว่า เต้นรำ ต่อมาสมาคมสมัครเล่นเต้นรำก็สลายตัวไป แต่ยังคงมีการชุมนุมกันของครูลีลาศอยู่เสมอ โดยมีนายหยิบ ณ นคร เป็นผู้ประสานงาน
·         การลีลาศได้ซบเซาลงในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 จนกระทั่งสงครามสงบลงในเดือนกันยายน พ.. 2488 วงการลีลาศของไทยเริ่มฟื้นตัวขึ้นใหม่ มีโรงเรียนสอนลีลาศเกิดขึ้นหลายแห่งโดยเฉพาะสาขาบอลรูมสมัยใหม่ ( Modern Ballroom Branch ) ซึ่งอาจารย์ยอด บุรี ได้ไปศึกษามาจากประเทศอังกฤษและเป็นผู้นำมาเผยแพร่ ช่วยทำให้การลีลาศซึ่งศาสตราจารย์ศุภชัย วานิชวัฒนาเป็นผู้นำอยู่ก่อนแล้วเจริญขึ้นเป็นลำดับ
·         ในปี พ..2491 มีบุคคลชั้นนำในการลีลาศซึ่งเคยเป็นผู้ชนะเลิศการแข่งขันลีลาศสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 อาทิ อุไร โทณวณิก กวี กรโกวิท จำลอง มาณยมณฑล ปัตตานะ เหมะสุจิ และ นายแพทย์ประสบ วรมิศร์ ได้ร่วมกันก่อตั้งสมาคมลีลาศแห่งประเทศไทยขึ้น โดยสภาวัฒนธรรมแห่งชาติ อนุญาตให้จัดตั้งได้เมื่อวันที่ 16 ตุลาคม พ..2491 มีหลวงประกอบนิติสาร เป็นนายกสมาคมคนแรก ปัจจุบันสมาคมลีลาศแห่งประเทศไทยเป็นสมาชิกของสภาการลีลาศนานาชาติด้วยประเทศหนึ่ง  หลังจากนั้นการลีลาศในประเทศไทยก็เป็นที่นิยมอย่างแพร่หลาย มีสถานลีลาศเปิดเพิ่มมากขึ้น มีการจัดแข่งขันลีลาศมากขึ้น ประชาชนสนใจเรียนลีลาศกันมากขึ้น มีการจัดตั้งสมาคมครูลีลาศ ขึ้นสำหรับเปิดสอนลีลาศ และยังได้จัดส่งนักลีลาศไปแข่งขันในต่างประเทศและจัดแข่งขันลีลาศนานาชาติขึ้นในประเทศไทย ในสมัยรัฐบาลจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ เป็นนายกรัฐมนตรี ได้กำหนดให้โรงเรียนสอนลีลาศต่างๆ อยู่ในสังกัดของกระทรวงศึกษาธิการ และมีการกำหนดหลักสูตรลีลาศขึ้นอย่างเป็นแบบแผนทำให้การลีลาศมรมาตรฐานยิ่งขึ้น ส่งผลให้การลีลาศในประเทศไทยเป็นที่ยอมรับและนิยมในวงการทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค นักเรียน นิสิต นักศึกษาและประชาชนให้ความสนใจ ทำให้มีโรงเรียนหรือสถาบันเปิดสอนลีลาศขึ้นเกือบทุกจังหวัด สำหรับในสถานศึกษาก็ได้มีการจัดวิชาลีลาศเข้าไว้ในหลักสูตรตั้งแต่ระดับมัธยมศึกษาจนถึงระดับอุดมศึกษาปัจจุบันลีลาศได้รับการรับรองให้เป็นกีฬาจากคณะกรรมการโอลิมปิกสากล (International Olympic Committee = IOC ) อย่างเป็นทางการมรการประชุมครั้งที่ 106 วันที่ 4 กันยายน พ.. 2540 ณ เมืองโลซาน ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ สำหรับในประเทศไทยคณะกรรมการการกีฬาแห่งประเทศไทย ในสมัยที่มีนายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นประธานคณะกรรมการ ได้มีมติรับรองลีลาศเป็นการกีฬาอย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ พ..2541 จัดเป็นกีฬาลำดับที่ 45 ของการกีฬาแห่งประเทศไทย และยังได้จัดให้มีการแข่งขันกีฬาลีลาศ ( สาธิต )ขึ้นเป็นครั้งแรกในการแข่งขันกีฬาเอเชียนเกมส์ ครั้งที่ 13 ซึ่งประเทศไทยเป็นเจ้าภาพ ณ กรุงเทพมหานคร ระหว่างวันที่ 6-20 ธันวาคม พ..2541

ประวัติการลีลาศ

ประวัติการลีลาศ


ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ลีลาศ
https://www.youtube.com/watch?v=nlw8bxVZDqM
ความต้องการของมนุษย์ที่สำคัญยิ่งอย่างหนึ่งรองจากปัจจัยสี่ คือ อาหาร ที่อยู่อาศัย เครื่องนุ่งห่มและยารักษาโรค ตั้งแต่สมัยโบราณมาแล้วนั้นคือ ความต้องการเกี่ยวกับความสนุกสนานรื่นเริง ดังเห็นได้ว่าชนแต่ละชาติแต่ละเผ่ามักจะใช้วิธีการแสดงออกเพื่อความสนุกสนานรื่นเริงสำหรับชนเผ่าของตนเองตั้งแต่สมัยดึกดำบรรพ์มาแล้วทั้งสิ้น วิธีการแสดงออกเพื่อความสนุกสนานที่สำคัญอย่างหนึ่งและมักจะปฏิบัติอยู่เสมอโดยทั่วไปนั้นคือ การแสดงออกด้วยการเต้นรำหรือร้องรำทำเพลงนั้นเอง การแสดงออกด้วยการร้องรำทำเพลงหรือเต้นรำเพื่อความสนุกสนานรื่นเริงอาจจะเป็นการแสดงออกถึงความรู้สึกหรืออารมณ์ที่เป็นไปด้วยความสนุกสนานรื่นเริงอย่างแท้จริง การแสดงออกด้วยการร้องรำทำเพลงด้วยความสนุกสนานนี้แต่ละชนชาติแต่ละเผ่าจะมีวิธีการแสดงออกที่เป็นลักษณะเฉพาะของตนเอง ทั้งนี้อาจจะมาจากอิทธิพลของสภาพแวดล้อม  ชีวิตการเป็นอยู่ ขนบธรรมเนียมประเพณีนิยม ตลอดจนความเชื่อโชคลางต่างๆ  และอาจจะเป็นจากสาเหตุนี้เองที่ทำให้การร้องรำทำเพลงของแต่ละชนชาติซึ่งมีมาตั้งแต่สมัยโบราณนั้นกลายมาเป็นศิลปะประจำชาติของแต่ละชาติไปดังที่เป็นอยู่ในปัจจุบันนี้                 
               
การลีลาศเป็นกิจกรรมการบันเทิงที่ถือกำเนิดจากความต้องการของการร้องรำทำเพลงเพื่อแสดงออกซึ่งความสนุกสนานรื่นเริงอย่างหนึ่ง ซึ่งมีขึ้นในยุโรปประมาณศตวรรษที่ 15 และในสมันต่อมาการลีลาศแบบนี้ก็พัฒนาขึ้นมาเรื่อยๆ เป็นแบบและจังหวะต่างๆ เช่น วอลซ์ แทงโก้ บีกินและอื่นๆ จนเป็นที่นิยมอย่างแพร่หลายในปัจจุบันการลีลาศนอกจากเป็นกิจกรรมการบันเทิงที่สนองความต้องการของร่างกายและจิตใจและเพื่อความสนุกสนานรื่นเริงในโอกาสพบปะสังสรรค์กันได้เป็นอย่างดีแล้ว ยังถือว่าเป็นศิลปะการเคลื่อนไหวของส่วนต่างๆ ของร่างกายที่มีลีลาเต็มไปด้วยความสง่างามตามความรู้สึกของอารมณ์ที่เกิดขึ้นจากดนตรีในขณะที่ลีลาศนั้นอย่างยิ่งอีกด้วย